วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ใบงานที่3 การติดตั้ง Windows และคำสั่ง DOS

1. วิธีการลง Windows 7

        1. ใส่แผ่น Windows7 ลงใน CD-Rom จากนั้นทำการ Boot Computer
เมื่อเห็นข้อความดังกล่าวดังรูป ให้กด Enter 1ครั้งเพื่อเป็นการเข้าสู้หน้าต่างของการลง Windows7
** ในการปรับให้ให้ Bios นั้น Boots จากแผ่้นเป็นอันดับแรก
-โดยส่วนมาก PC จะกด del / . เข้าไปทำการเซ็ตค่า
- Notebook ส่วนมากจะกด F2 หรือให้สังเกตุดีๆตอนที่คอมพิวเตอร์Boot มันจะบอกอยู่
-แต่ถ้าเราต้องการกดใช้ Boot menu เลย ทั้ง Notebook / pc ส่วนมากจะกด F12 , F10 ครับ

13

2. ให้เราทำการเลือกดังภาพ
Language to install : English
Time : Thai(Thailand)
Keyboard : US ให้เลือกเป็น US ก่อน

Windows7_1

3. จากนั้นให้ทำการกด Install now

Windows7_2

4. ให้เราเลือก OS ที่เราต้องการลง โดยจะ มีทั้ง x86(32bit) , x64(64bit) แนะนำว่าผู้ใช้ทั่วไปควรลง x86 และกด Next

Windows7_3

5. ยอมรับเงื่อนไข Lincene ของ windows 7
- ให้เราทำการ ติ๊ก  I accept the license > Next

Windows7_4


6. เมื่อผู้อ่านลง Windows 7 ใหม่หรือลงครั้งแรกจากการซื้อคอมพิวเตอร์ ก็ให้เลือก Custom(advanced)

Windows7_5

7. ขั้นตอนนี้เราเราเลือก Drive ที่จะลง OS Windows7 ส่วนมาก จะลงใน Disk 0 นะครับ ก็คือ Drive C: ของ windows เรานั้นเอง อย่าลง ผิด Drive นะครับดูดีดี

Windows7_6

สำคัญ แต่สำหรับคนที่เคยลง windows 7 แล้ว หรือลง windows ตัวอื่นแล้วจะมาลง Windows 7 ใหม่ให้ทำขั้นตอนนี้ด้วยนะครับ
ให้ไปที่ Drive options (advanced)

windows7_15

จากนั้นให้เราเลือก Drive ที่เราเคยลง OS มาก่อน จากนั้นก็เลือก format ก่อนครับ จากนั้นก็เลือก Drive ที่เราจะลง OS จากนั้นก็กด Next

windows7_16

8. ขั้นตอนนี้ให้เรารอเวลาใน Install windows 7


Windows7_7

9. หลังจากนั้นให้เราใส่ชื่อ ผู้ใช้ อาทิเช่น ITITHAI จากนั้นก็กด Next

Windows7_8

10. Windows จะให้เราใส่ Password ในการ Login แต่ถ้าเราไม่ต้องการใส่ก็ให้ข้ามขั้นตอนนี้ไปเลยครับ

Windows7_10

11. ขั้นตอนนี้ให้เราใส่ Product key ซึ่ง Product key จะอยู่ที่กล่อง ที่เราทำการซื้อ Windows 7 มาครับ

Windows7_10

12. ขั้นตอนนี้ให้เราเลือก Use recommended Setting เพื่อเป็นการ Update Patch windows ต่างๆ

Windows7_11

13. ให้เราเลือกเวลา Time Zone : UTC+07.00 Bangkok,Hanoi,Jakarta

windows7_12

14. ในหัวข้อนี้ถ้าเรายังไม่แน่ใจ ให้เราเลือก Public network (ตามที่Microsoft แนะนำ)

Windows7_14
 
15. จากนั้นเราก็จะได้ Window7 ที่หน้าตาที่สวยงาม ดังภาพ ครับ โชคดีในการลงนะครับ



windows7-13


16. ก็เป็นเสร็จสิ้นในการลง Windows 7 แล้ว เป็นไงละครับ ง่ายไหมครับ กับการลง Windows 7


          การติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows XP โดยปกติ จะสามารถทำได้ 2 แบบคือ การติดตั้งโดยการอัพเกรดจาก Windows ตัวเดิม หรือทำการติดตั้งใหม่เลยทั้งหมด สำหรับตัวอย่างในที่นี้ จะขอแนะนำวิธีการ ขั้นตอนการติดตั้ง Windows XP แบบลงใหม่ทั้งหมด ซึ่งความเห็นส่วนตัว น่าจะมีปัญหาในการใช้งานน้อยกว่าแบบอัพเกรดค่ะ
วิธีการติดตั้ง Windows XP ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบดังนี้
1. ติดตั้งแบบอัพเกรดจาก Windows ตัวเดิม โดยใส่แผ่น CD และเลือกติดตั้งจาก CD นั้นได้เลย
2. ติดตั้งโดยการบูตเครื่องใหม่จาก CD ของ Windows XP Setup และทำการติดตั้ง
3. ติดตั้งจากฮาร์ดดิสก์ โดยทำการ copy ไฟล์ทั้งหมดจาก CD ไปเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์      ก่อนทำการติดตั้ง

ในการแบ่งพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ แนะนำให้ทำการวางแผนประมาณขนาดพื้นที่ไว้ล่วงหน้าด้วย โดยทั่วไปก็ไม่ควรจะใช้พื้นที่ต่ำกว่า 3G. และเนื่องจากระบบ Windows XPสามารถที่จะสร้างเมนู Multi Boot ได้หลังจากที่ติดตั้งไปแล้ว โดยยังสามารถเลือกเมนูว่า จะเรียก Windows ตัวเดิมหรือจะเรียก Windows XP ก็ได้ ดังนั้น หลาย ๆ ท่านมักจะแบ่งพื้นที่ไว้ลง Windows 98 ที่ Drive C: ประมาณ 5G. และเผื่อไว้สำหรับ Windows XP ที่ Drive D: อีกประมาณ 5G. ที่เหลือก็จะเป็น Drive E: สำหรับเก็บข้อมูลอื่น ๆ ทั่วไป แต่ถ้าหากลง Windows เพียงแค่ตัวเดียว ก็ไม่จำเป็นค่ะ
การตั้งค่าใน BIOS ก่อนทำการติดตั้ง Windows XP ใหม่จะต้องทำการ Disable Virus Protection ใน BIOS ซะก่อน เพราะว่าเมนบอร์ดบางรุ่นจะมีการป้องกัน Virus โดยการป้องกันการเขียนทับในส่วนของ Boot Area ของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเท่าที่เคยเห็นมา เครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะมีให้เลือกตั้งค่านี้อยู่แล้ว ถ้าหากเครื่องของใครไม่มีก็ไม่ต้องตกใจ เพราะเมนบอร์ด บางรุ่นอาจจะไม่มีก็ได้ วิธีการก็คือ
         เริ่มจากการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ ขณะที่เครื่องกำลังทำ Memory Test หรือนับ RAM อยู่นั่นแหละ ด้านล่างซ้ายมือจะมีคำว่า Press DEL to enter SETUP ให้กดปุ่ม DEL บน Keyboard เพื่อเข้าสู่เมนูของ Bios Setup (แล้วแต่เมนบอร์ด ด้วยบางทีอาจจะใช้ปุ่มอื่น ๆ สำหรับการเข้า Bios Setup ก็ได้ลองดูให้ดี ๆ) จากนี้ก็แล้วแต่ว่าเครื่องของใคร จะขึ้นเมนูอย่างไร คงจะไม่เหมือนกันแต่ก็ไม่แตกต่างกันมากนัก จากนั้นให้มองหาเมนู Bios Features Setup ส่วนใหญ่จะเป็นเมนูที่สอง ใช้ปุ่มลูกศรเลื่อนแถบลงมาแล้วกด ENTER ถ้าใช่จะมีเมนูของ Virus Warning หรือ Virus Protection อะไรทำนองนี้ ถ้าหากเป็น Enable อยู่ละก็ให้เปลี่ยนเป็น Disable โดยเลื่อนแถบแสงไปที่เมนูที่เราต้องการใช้ปุ่ม PageUp หรือ PageDown สำหรับเปลี่ยนค่าให้เป็น Disable 
กดปุ่ม ESC เพื่อกลับไปเมนูหลักของ Bios Setup มองหาเมนูของ SAVE TO CMOS AND EXIT หรืออะไรทำนองนี้เลื่อนแถบแสงไปเลยแล้วกด ENTER ถ้าหากเครื่องถามว่าจะ Save หรือไม่ก็ตอบ Y ได้เลย หลังจากนี้เครื่องจะทำการ Reboot ใหม่อีกครั้ง ใส่แผ่น Startup Disk ที่เราทำไว้ตามขั้นตอนแรกรอไว้ก่อนเลย
มาดูขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้น การติดตั้ง Windows XP กันเลยค่ะเริ่มต้น โดยการเซ็ตให้บูตเครื่องจาก CD-Rom Drive ก่อน โดยการเข้าไปปรับตั้งค่าใน bios ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเลือกลำดับการบูต ให้เลือก CD-Rom Drive เป็นตัวแรกครับ (ถ้าหากเป็นแบบนี้อยู่แล้ว ก็ไม่ต้องเปลี่ยนอะไร)
 
 ทำการปรับเครื่อง เพื่อให้บูตจาก CD-Rom ก่อน จากนั้นก็บูตเครื่องจากแผ่นซีดี Windows XP Setup โดยเมื่อบูตเครื่องมา จะมีข้อความให้กดปุ่มอะไรก็ได้ เพื่อบูตจากซีดีคะ ก็เคาะ Enter ไปทีนึงก่อน
 
 โปรแกรมจะทำการตรวจสอบและเช็คข้อมูลอยู่พักนึง รอจนขึ้นหน้าจอถัดไป
 
เข้ามาสู่หน้า Welcome to Setup กดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป
         
 หน้าของ Licensing Agreement กดปุ่ม F8 เพื่อทำการติดตั้งต่อไป
 
 ทำการเลือก Drive ของฮาร์ดดิสก์ที่จะลง Windows XP แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป
 
 เลือกชนิดของระบบ FAT ที่จะใช้งานกับ Windows XP หากต้องการใช้ระบบ NTFS ก็เลือกที่ข้อบน แต่ถ้าจะใช้เป็น FAT32 หรือของเดิม ก็เลือกข้อสุดท้ายได้เลย (no changes) ถ้าไม่อยากวุ่นวาย แนะนำให้เลือก FAT32 นะคะ แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป
 โปรแกรมจะเริ่มต้นขั้นตอนการติดตั้ง รอสักครู่
 
 หลังจากนั้น โปรแกรมจะทำการ Restart เครื่องใหม่อีกครั้ง (ให้ใส่แผ่นซีดีไว้ในเครื่องแบบนั้น แต่ไม่ต้องกดปุ่มใด ๆ เมื่อบูตเครื่องใหม่ ปล่อยให้โปรแกรมทำงานไปเองได้เลย)
 
 หลังจากบูตเครื่องมาคราวนี้ จะเริ่มเห็นหน้าตาของ Windows XP แล้วค่ะ รอสักครู่
โปรแกรมจะเริ่มต้นขั้นตอนการติดตั้งต่าง ๆ ก็รอไปเรื่อย ๆ 
จะมีเมนูของการให้เลือก Regional and Language ให้กดปุ่ม Next ไปเลยค่ะ ยังไม่ต้องตั้งค่าอะไรในช่วงนี้
ใส่ชื่อและบริษัทของผู้ใช้งาน ใส่เป็นอะไรก็ได้ แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป
ทำการใส่ Product Key (จะมีในด้านหลังของแผ่นซีดี) แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป
หน้าจอให้ใส่ Password ของ Admin ให้ปล่อยว่าง ๆ ไว้แบบนี้แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป
เลือก Time Zone ให้เป็นของไทย (GMT+07:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป
รอสักพัก จนกระทั่งขั้นตอนต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อย ก็พร้อมแล้วสำหรับการเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Windows XP ครับ จากนั้น จะมีการบูตเครื่องใหม่อีกครั้ง เพื่อเริ่มต้นการใช้งานจริง ๆ
บูตเครื่องใหม่คราวนี้ อาจจะมีเมนูแปลก ๆ แบบนี้ เป็นการเลือกว่า เราจะบูตจากระบบ Windows ตัวเก่าหรือจาก Windows XP ครับ ก็เลือกที่ Microsoft Windows XP Professional ครับ ถ้าของใครไม่มีเมนูนี้ก็ไม่เป็นไร
เริ่มต้นบูตเครื่อง เข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Windows XP แล้ว
ในครั้งแรก อาจจะมีการถามเรื่องของขนาดหน้าจอที่ใช้งาน กด OK เพื่อให้ระบบตั้งขนาดหน้าจอให้เราได้เลยค่ะ นอกจากนี้ ถ้าหากเครื่องไหนมีการถาม การติดตั้งค่าต่าง ๆ ก็กดเลือกที่ Next หรือ Later ไปก่อน บางครั้งอาจจะมีให้เราทำการสร้าง Username อย่างน้อย 1 ฃื่อก่อนเข้าใช้งาน ก็ใส่ชื่อของคุณเข้าไปได้เลย
ชนิดคำสั่ง DOS
คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น
2. คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE เป็นต้น
 
รูปแบบและการใช้คำสั่งต่าง ๆ
ในการใช้คำสั่งต่าง ๆ ของ DOS จะมีการกำหนดอักษรหรือสัญลักษณ์ ใช้แทนข้อความของรูปแบบคำสั่ง ดังนี้
[d:]หมายถึงDrive เช่น A:, B:
[path]หมายถึงชื่อไดเรคเตอรี่ย่อย
[filename]หมายถึงชื่อแฟ้มข้อมูล หรือ ชื่อไฟล์
[.ext]หมายถึงส่วนขยาย หรือนามสกุล
หมายเหตุ ข้อความที่อยู่ในวงเล็บ ([ ] ) ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่ในคำสั่ง
1. Drive [d :] ที่เราใช้งาน ได้แก่ A: B: C: หรือ D:
2. ชื่อไดเรคตอรี่ย่อย [path]
3. ชื่อไฟล์ [filename] ต้องเป็นภาษาอังกฤษหรือเลขอารบิค มีไม่เกิน 8 ตัวอักษร ห้ามเว้นวรรค ห้ามใช้เครื่องหมายอื่นใด ( ปัจจุบันเครื่องที่เป็น Windows95/98 สามารถตั้งชื่อไฟล์ได้ 255 ตัวอักษร และสามารถตั้งเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ )
4. ส่วนขยายหรือนามสกุล [.ext] ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
 
รูปแบบและการใช้คำสั่งภายใน (Internal Command)

    1. คำสั่งลบข้อมูลบนจอภาพ ขณะนั้น
    2. CLS (CLEAR SCREEN) รูปแบบ : CLS
    3. คำสั่ง แก้ไข วัน เดือน ปี


DATE รูปแบบ : DATE

    • เมื่อขึ้น C: ให้พิมพ์ DATE กด Enter
    • พบข้อความว่า Current date is jan 03-19-2001
    • ป้อนให้ถูกต้องตรงตามวันที่ปัจจุบัน
    3.    คำสั่งแก้ไขเวลา


TIME รูปแบบ : TIME

    • กรณีเดียวกันกับ วัน เดือน ปี
    • พบข้อความว่า Current time is 11:10:20
    • ป้อนให้ถูกต้องตรงตามเวลาปัจจุบัน
    4.   คำสั่ง ดูรุ่น หมายเลข ( Version ) ของดอส
                     VER (VERSION) รูปแบบ : Ver
    5.    การเปลี่ยน Drive
        -     จาก A:\ เป็น C:\ ให้พิมพ์ C: กด Enter
        -     จะขึ้น C:\
    6.    คำสั่ง ดูชื่อแฟ้มข้อมูล, เนื้อที่บนแผ่นดิสก์, ชื่อแผ่นดิกส์
            DIR (DIRECTORY) รูปแบบ : DIR [d:] [path] [filename [.ext]] [/p] [/w]

            /p หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลทีละ1หน้าจอภาพถ้าต้องการดูหน้าต่อไปให้กดแป้นใด ๆ
            /w หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลตามความกว้างของจอภาพ
    7.    คำสั่ง COPY
            ใช้คัดลอกแฟ้มข้อมูลหนึ่ง หรือหลายแฟ้มข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลต้นทาง ไปยังแฟ้มข้อมูลปลายทางอาจจะเป็นจากแผ่นดิสก์แผ่นหนึ่งหรือแผ่นดิสก์เดิมก็ได้ เช่น
            A:> COPY DATA.DAT C: BAT.DAT
                หมายถึง การสั่งให้นำสำเนาแฟ้มต้นฉบับจาก ดิสเกต Drive A: ที่มีชื่อแฟ้มว่า DATA.DAT มาทำสำเนาให้ปรากฏใน Drive B: ที่มีชื่อแฟ้มว่า BAT.DAT
    8.    การใช้เครื่องหมาย ? และ * ในชื่อไฟล์
            ? ใช้แทนตัวอักษรอะไรก็ได้ 1 ตัวอักษร ในตำแหน่งที่อยู่ใน
                W?? M     หมายถึง ชื่อไฟล์ที่มี W ขึ้นหน้า ตามด้วยตัวอักษรอะไรก็ได้ 2 ตัว และตามด้วย M
               เครื่องหมาย * ใช้แทนตัวอักษรอะไรก็ได้ ยาวเท่าใดก็ได้ เช่น *.* ชื่อไฟล์อะไรก็ได้ นามสกุลอะไรก็ได้ เช่น
            DIR S* หมายถึง แสดงชื่อไฟล์ที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร S หรือ
            DIR ?O* หมายถึง แสดงชื่อไฟล์ ที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรอะไรก็ได้ตามด้วย O แล้วต่อท้ายด้วยอักษรอะไรก็ได้
            A:\ COPY*.* B: หมายถึง ให้ทำสำเนาแฟ้มไปสู่ Drive B:
               A:\COPY C*.* B: หมายถึง ให้ทำสำเนาจากแฟ้มต้นฉบับ ใน Drive A: โดยเลือกเฉพาะแฟ้มที่มีชื่อขึ้นต้นว่า C ทุกไฟล์ เช่น CAT.DAT, CAR.DOC เป็นต้น
    9.    คำสั่ง DEL หรือ Erase
คือ การลบแฟ้มข้อมูล รูปแบบ: DEL
ตัวอย่าง เช่น
C:\DEL A:\DATA.DOC กด Enter หมายความว่า ต้องการลบไฟล์ที่มีชื่อว่า DATA จากDrive A: มีผลทำให้ไฟล์ดังกล่าวหายไปจากแผ่นดิสก์
10. คำสั่ง RENAME
                                         คือ การเปลี่ยนชื่อไฟล์ รูปแบบ: REN [d:] [path] [oldfilename[.ext]] [newfilename[.ext]] ตัวอย่างเช่น
                               REN A: DATA MEETING.DOC SILVER.DOC
                                     หมายถึง เปลี่ยนชื่อจาก Drive A: แฟ้ม DATA ชื่อไฟล์ MEETING.DOC เป็น SILVER.DOC แทน
  การจัดการ Directory เป็นการจัดการไฟล์ข้อมูล แนวคิดต้นไม้ มีดังนี้
                                    - คำสั่ง MD ( MKDIR) คือการสร้างกิ่งต้นไม้ ตัวอย่างเช่น

    A:\MD Sheet คือ การสร้าง Directory ชื่อ Sheet ไว้ที่ Drive A เมื่อใช้คำสั่ง DIR ดูจะเห็น Directory ดังกล่าว
                - คำสั่ง CD (CHDIR) คือ การเปลี่ยนตำแหน่งของกิ่งต้นไม้ หรือ Directory ที่เราต้องการเข้าไป เช่น

                                           A:\CD INFORMATION คือ การเข้าไปใน Directory ที่มีชื่อว่า INFORMATION

                - คำสั่ง RD (RMDIR) คือ การลบกิ่งต้นไม้ หรือ ไฟล์ข้อมูล ตัวอย่างเช่น
                       A:\RD DATA คือ การลบ Directory ที่เราได้สร้างไว้ ใน Drive A: หากมี Directory ดังกล่าวจะขึ้นข้อความว่า
Invalid path,not directory,

Or directory not empty
ตัวอย่างการลบ Directory

  1. หากเราจะลบ Directory นั้นก็จะต้องลบไฟล์ข้อมูลในนั้นก่อน โดยใช้คำสั่ง DIR เพื่อดูว่ามีไฟล์อะไรบ้าง เช่น
  2. A:\CD DATA กด ENTER A:\DATA>DIR กด ENTER ซึ่งจะแสดงข้อมูลทั้งหมดใน Directory ที่ชื่อ DATA ออกมา เช่น เรามีแฟ้มข้อมูลใน Directory ชื่อ DATA 2 แฟ้ม คือ TEST.DOC ALL FILES.HTM
  3. สามารถใช้คำสั่งลบ แฟ้มได้ดังนี้
  4. A:\>DATA>DEL*.* กด ENTER ซึ่งจะได้ข้อความดังนี้ All files in directory will be deleted!Are you sure (Y/N)?
  5. ตอบ N คือ ไม่ต้องการลบไฟล์
  6. ตอบ Y คือ ต้องการลบไฟล์ทั้งหมดใน Directory นี้ ในที่นี้เราต้องการลบ ตอบ Y กด ENTERเมื่อ ใช้คำสั่ง DIR จะไม่พบแฟ้มข้อมูลทั้งสองแล้ว
  7. จากนั้นใช้คำสั่ง CD\ ซึ่งเป็นคำสั่งเปลี่ยน Directory ออกมาที่ Root Directory
  8. A:\>DATA>CD\ A:\>
  9. แล้วจึงสามารถลบ Directory DATA ได้ โดยใช้คำสั่ง RD
  10. A:\>RD DATA ผลคือ Directory DATA ถูกลบออกไปจากแผ่นดิสก์ เมื่อใช้คำสั่ง DIR จะไม่สามารถมองเห็น
  11. คำสั่ง เข้าสู่ Root Directory ใช้คำสั่ง CD\ เช่น
  12. C:\Windows\temp>CD\ กด ENTER ผลคือ C:\
  13. คำสั่งออกจาก Directory ย่อย ใช้คำสั่ง CD.. เช่น

          C:\Windows\temp>CD.. กด ENTER ผลคือ

          C:\Windows> ถ้าพิมพ์ CD.. อีกครั้ง
          C:\Windows>CD.. กด ENTER ผลคือ
          C:\>

คำสั่งภายนอก(EXTERNAL COMMAND)

คำสั่งภายนอกมี 2 นามสกุล
1.นามสกุลเป็น .COM เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่ถูกแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว
2.นามสกุลเป็น .EXE เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่เขียนโดยใช้ภาษาระดับสูงและแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว

คำสั่งภายนอก เป็นคำสั่งที่ไม่อยู่ในเครื่อง เวลาใช้ต้องเรียกจากแผ่น DOS ตัวอย่างคำสั่ง

    1. คำสั่ง Format

                    Format คือ การเตรียมแผ่นดิสก์ที่ซื้อมาใหม่ก่อนการใช้งาน เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลหรือเก็บโปรแกรมได้ โดยจะมีโปรแกรมที่ชื่อว่า Format.com         ซึ่งจะใช้ในการสร้าง Track และ Sector บนแผ่นดิสก์ เพื่อที่จะได้นำแฟ้มมาบันทึกบนแผ่นดิสก์ได้
การ Format แผ่นใหม่ มีดังนี้
    1. ใส่แผ่นดิสก์ไปใน Drive ให้ดูว่าแผ่นขนาดใด ชนิดใด
    2. ให้พิมพ์สูตรตามชนิดของแผ่น แล้ว กด Enter

    1. C:\Format A:\ สำหรับแผ่น 3.5 นิ้ว ชนิด HD
    2. C:\>Format A:/S สำหรับแผ่น 3.5 ชนิด HD ให้เป็น DOS โดยการคัดลอกไฟล์ระบบเข้าไปยังแผ่น A ทำให้แผ่นดิสก์ สามารถ Boot ได้นั่นเอง
            2. คำสั่ง DISKCOPY
คือ คำสั่งที่ใช้ในการทำสำเนาแฟ้มทั้งแผ่นไปสู่ดิสเกตอีกแผ่นที่ต้องการ โดยต้องเป็นแผ่นดิสก์ ชนิดเดียวกัน ขนาดเดียวกัน ทำได้ดังนี้

    1. ถ้าเครื่องไม่มีฮาร์ดดิสก์ ให้ใส่แผ่น DOS ที่มีไฟล์ DISKCOPY.COM ใน Drive A:
    2. ให้พิมพ์คำสั่ง C:\DISKCOPY A: กด Enter เครื่องจะบอกให้ใส่แผ่นต้นฉบับ
    3. ใส่แผ่นต้นฉบับใน Drive A: กด Enter รอสักครู่เครื่องจะบอกให้เรานำแผ่นต้นฉบับออก
    4. ให้ใส่แผ่นสำเนาลงไป กด Enter
    5. เครื่องจะถามการตั้งชื่อให้ กด Enter
    6. เครื่องจะถามว่าจะ DISKCOPY ต่อไปหรือไม่
    7. ตอบ Y คือ ตกลง ตอบ N คือ ไม่ตกลง


วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

ใบงานที่2 ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
         คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว
        จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสต์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ
      หลักการของแบบเบจนี้เองที่ได้นำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็น บิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์
      หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาด ทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Vocab about PC

     งานคำศัพท์ทางคอมพิวเตอร์ 50 คำ


1. AGP (Accelerated Graphic Ports) 
เป็นข้อกำหนดของอินเตอร์เฟซ บนแฟลตฟอร์ม ของบัส ซึ่งมีสมรรถนะทางด้านกราฟฟิกสูง เพื่อทำให้สามารถแสดงภาพกราฟฟิก 3 มิติ ได้รวดเร็วบน เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เช่น ภาพจาก Web Site หรือ ซีดี-รอม ทำให้ การแสดงภาพบนจอภาพ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เร็วและเรียบกว่า

2. Application program interface (API) 
เป็นการระบุวิธีการที่ไม่เกี่ยวข้องกับระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมประยุกต์อื่น ๆ โดยผู้เขียนโปรแกรมใช้การเขียนโปรแกรมประยุกต์ในการขอกับระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมประยุกต์อื่น ๆ 

3. Basic Input/Output System (BIOS) 
เป็นโปรแกรมที่ไมโครโพรเซสเซอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ใช้ในการทำให้ระบบคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานเพื่อเปิดเครื่อง และทำหน้าที่บริหารการไหลของข้อมูล ระหว่างระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ กับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ เช่น ฮาร์ดดิสก์ คีย์บอร์ด เมาส์ เครื่องพิมพ์เป็นต้น 

4. A+ (A-plus) 
เป็นชื่อของกระบวนการ เพื่อรับรองความรู้และความสามารถในการติดตั้ง บำรุงรักษา และการทำงานกับ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล สถาบันที่พัฒนาและรับรองคือ Computing Technology Industry Association (ComTIA) การสอบขอใบรับรองแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นความรู้ ด้านคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ และส่วนที่สองเป็นการเจาะจงความรู้ในระบบปฏิบัติการ เช่น Windows 98

5. Analog-to-Digital Conversion (ADC) 
เป็นกระบวนการอีเลคโทรนิคส์ ที่สัญญาแปรผันต่อเนื่อง (analog) ได้รับการแปลงให้เป็นสัญญาณดิจิตอล โดยไม่มีการลบข้อมูลสำคัญ 

6. bridge 
ในเครือข่ายโทรคมนาคมbridgeเป็นผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายแบบ LAN ไปยังเครือข่าย LAN อื่น โดยใช้โปรโตคอลเดียวกัน (เช่น Ethernet หรือ Tokenring) สามารถเปรียบ bridge เป็นอุปกรณ์ที่ตัดสินการส่งข่าวสารจากผู้ใช้ไปยังบุคคลอื่นใน LAN ในตึกเดียวกัน หรือบุคคลอื่นในเครือข่ายที่อยู่ในอาคารอื่น โดย bridge ตรวจสอบแต่ละข่าวสารบนเครือข่าย และส่งผ่านไปยังบุคคลที่ทราบในเครือเดียวกัน หรือส่งข้ามไปยังเครือข่ายอื่นที่มีการต่อเชื่อมกันอยู่ 

7. byte 
ระบบคอมพิวเตอร์โดยส่วนใหญ่ byte (ไบต์) เป็นหน่วยของข้อมูลที่เป็นเลขฐานสอง 8 หลัก โดย byte เป็นหน่วยที่คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ใช้แสดงตัวอักษร ตัวเลข หรือ สัญลักษณ์ต่าง ๆ byte สามารถเก็บข้อความของบิตที่ต้องการใช้ในหน่วยที่ใหญ่ตามวัตถุประสงค์ของโปรแกรมประยุกต์ (เช่นกลุ่มของบิตที่สร้างเป็นภาพสำหรับโปรแกรม เพื่อแสดงภาพหรือข้อความของบิต ซึ่งเป็นภาษาเครื่องของโปรแกรมคอมพิวเตอร์) 

8. Gbps 
เป็นตัวย่อของพันล้านบิตต่อวินาที และใช้วัด bandwidth ในการส่งข้อมูลดิจิตอลผ่านตัวกลาง เช่น optical fiber ถ้าเป็นตัวกลางและโปรโตคอลที่ช้ากว่า bandwidth อาจจะเป็น Mbps ( ล้านบิต หรือ megabit ต่อวินาที) หรือ Kbps ( พันบิต หรือ kilobit ต่อวินาที)

9. Mbps 
เป็นตัวของล้านบิตต่อวินาที หรือ megabit ต่อวินาที และเป็นการวัด bandwidth (การไหลรวมของสารสนเทศในเวลากำหนด) บนตัวกลางโทรคมนาคม ช่วงของ bandwidth ขึ้นกับตัวกลางและวิธีการส่ง ในบางครั้งวัดเป็น Kbps (พันบิต หรือ kilobits ต่อวินาที) จนถึง Gbps (พันล้านบิต หรือ gigabits ต่อวินาที)

10. bus 
ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ เครือข่าย (Network) bus เป็นเส้นทางของการส่งผ่านสัญญาณทั้งเข้าและออก จากอุปกรณ์ทุกตัว ที่ต่อเชื่อมกับบัส การส่งผ่านสัญญาณไปที่อุปกรณ์ใดขึ้นกับสัญญาณ ที่เป็นสัญญาณที่มีตำแหน่ง (Address) ของอุปกรณ์ ซึ่งอุปกรณ์ที่มีตำแหน่งอื่น ๆ จะไม่รับสัญญาณนั้น 

11. switch 
เป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้เลือกเส้นทาง หรือวงจรสำหรับการส่งข้อมูล หรือปลายทางต่อไป switch (สวิท์ช) อาจจะรวมการทำงานของ router, อุปกรณ์หรือโปรแกรม ที่สามารถค้นหาเส้นทาง หรือกำหนดจุดบนเครือข่ายที่ติดต่อกัน เพื่อให้ส่งข้อมูลไป โดยทั่วไป สวิท์ช เป็นกลไกที่ง่าย และเร็วกว่า router ซึ่งต้องการความรู้เกี่ยวกับเครือ และวิธีการหาเส้นทาง

12. C++ 
เป็นภาษาแบบ object-oriented programming (OOP) ที่ดีที่สุด ในการสร้างโปรแกรมประยุกต์ขนาดใหญ่ และ C++ เป็นภาษา C ระดับสูง 

13. Modem (โมเด็ม) 
ส่งออกสัญญาณในรูปของคลื่นโดยการแปลงสัญญาณดิจิตัล จากเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ดิจิตัล ให้เป็นสัญญาณอะนาล็อก สำหรับส่งสัญญาณผ่านสายโทรศัพท์ แบบดั้งเดิม และรับสัญญาณเข้าโดยการแปลงสัญญาณคลื่นแบบอะนาล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิตัล สำหรับอุปกรณ์แบบดิจิตัล 

14. digital (ดิจิตอล) 
การเป็นการอธิบายเทคโนโลยีอีเล็คโทรนิคส์ที่ใช้สร้าง เก็บ และประมวลข้อมูลในลักษณะ 2 สถานะ คือ บวก (positive) และไม่บวก (non-positive) บวก (positive) แสดงด้วย เลข 1 และไม่บวก (non-positive) แสดงด้วย เลข 0 ดังนั้น ข้อมูลส่งผ่าน หรือเก็บด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล เป็นการแสดงด้วยข้อความของ 0 และ 1 แต่ละค่าของตำแหน่งสถานะเหล่านี้ เป็นการอ้างแบบ binary digital

15. Wi-Fi (ย่อมาจาก "wireless fidelity") 
เป็นศัพท์ของประเภทเครือข่ายท้องถิ่นไร้สาย (WLAN) ที่ใช้ข้อกำหนดในตระกูล 802.11 คำศัพท์ Wi-Fi ได้รับการสร้างโดยองค์กรที่เรียกว่า Wi-Fi Alliance ซึ่งควบคุมการทดสอบที่ประกันการปฏิบัติงานผลิตภัณฑ์ภายใน ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบของพันธมิตรจะได้รับป้าย "Wi-Fi certified" (เครื่องหมายการค้าจดทะเบียน)




16)  ISP หรือ Internet Service Provider หมายถึง ผู้ให้บริการทางอินเตอร์เน็ต โดยคดค่าบริการจากเวลาในการใช้งานในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อัตราค่าบริการขึ้นกับบริษัทของแต่ละประเทศ ตัวอย่างผู้ให้บริการทางอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย เช่น เคเอสซี , ไอเน็ต, เอเน็ต, ล็อกซ์อินโฟ, เอเชียเน็ต เป็นต้น

17)  MIME ย่อมาจาก Multipurpose Internet Mail Extensions หมายถึง มาตรฐานสำหรับระบุชนิดของข้อมูล ซึ่งถูกคิดค้นมาเพื่อการแนบไฟล์ไปกับอี-เ มล์ (E-mail) แต่ต่อมาถูกใช้ในหลายๆ งาน เช่น ระบบเวบ (Web) ด้วย เช่น เท็กซ์/เอชทีเอ็มแอล (text/html) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร และเป็นข้อมูล HTML

18)   SLIP หรือ Serial Lind Internet Protocol หมายถึง ข้อกำหนด หรือวิธีของการเชื่อมโยงอินเตอร์เน็ตแบบอนุกรม โดยผู้ใช้หรือบริษัทใช้สายโทรศัพท์และโมเด็ม (Modem) โดยไม่ต้องผ่าน เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Host computer) เพื่อเชื่อมโยงกับระบบอินเตอร์เน็ตการเชื่อมโยง “SLIP” ต้องเช่าจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP)

19)  TCP/IP หรือ Transmission Control Protocol/Internet Protocol หมายถึง กฏเกณฑ์ หรือมาตรฐานที่ใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันในระบบอินเตอร์เนต ให้ติดต่อกันได้โดย IP ทำหน้าที่แยกข่าวสาร (Message) เป็น Package ย่อยๆ ส่วน TCP ทำหน้าที่จัด และรวม packets ทั้งหมดเป็นข่าวสาร

20) VOIP  ย่อมาจาก Voice Over IP หรือ Voice Over Internet Protocol หมายถึง เทคโนโลยีส่งข้อมูลแบบเสียง โดยนำข้อมูลเสียงมา แปลงให้อยู่ในรูปของ Packet แบบ IP แล้วส่งไปในเครือข่าย

21) CAD ย่อมาจาก Computer Aided Design หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบหรือเขียนแบบเครือข่าย

22) CAI ย่อมาจาก Computer Aided Instruction หมายถึง การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในการสอนวิชาความรู้ต่างๆ

23) CERT ย่อมาจาก (Computer Emergency Response Team) หมายถึง องค์การที่รับผิดชอบเกี่ยวกับไวรัสชนิดต่างๆ รวมทั้งบริการส่งอี-เมล์ (e-mail) เตือนภัยต่างๆ ทั้งไวรัสจริง และไวรัสปลอม  ดู http://www.cert.org/

24) CIAC ย่อมาจาก Computer incident Adcisory Capability หมายถึง หน่วยงานหนึ่งในอเมริกาที่รับผิดชอบเกี่ยวกับรายชื่อไวรัสในคอมพิวเตอร์ที่มีจริงและที่หลอกเล่น รวมทั้งคำแนะนำต่างๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ในแวดวงคอมพิวเตอร์

25) Computer หมายถึง อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์อื่นที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่างๆ โดย คุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือ การที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าได้ หรือโปรแกรมได้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความถูกต้อง และมีความรวดเร็วหรือเครื่องจักรสมองกล เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานได้หลายอย่าง ตั้งแต่งานพิมพ์เอกสาร บันทึกและประมวลผลข้อมูล คำนวณ การทำบัญชี การใช้เป็นเครื่องมืออัตโนมัติ เป็นสำนักงานอัตโนมัติและใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานด้านข้อมูลและสารสนเทศ เป็นต้น คอมพิวเตอร์สามารถแบ่งตามความสามารถในการทำงานได้หลายแบบ ตั้งแต่ไมโครคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มินิคอมพิวเตอร์  เมนเฟรม ไปจนถึง ซูเปอร์คอมพิวเตอร์

26)  Computer Down หมายถึง การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ทำงาน ณ ขณะนั้นเนื่องจากเสีย กำลังซ่อมบำรุง กำลังปรับปรุงระบบใหม่ หรือกำลังพัฒนา(w)โปรแกรมต่างๆ เป็นต้น

27)  Host Computer หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์หลักที่ใช้เชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ตโดยตรง เรียกว่า “คอมพิวเตอร์แม่ข่าย”

28) SCSI ย่อมาจาก Small Computer  System Interface หมายถึง การเชื่อมโยงแบบสมรรถนะสูงระหว่างอุปกรณ์กับข้อมูลความเร็วสูงกับบัสของเซิร์ฟเวอร์ (Server) สามารถใช้กับอุปกรณ์ภายนอก คล้าย EDIE แต่มีราคาสูงกว่า สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้พร้อมกันมากกว่า 15 ตัวความเร็วสูงและแม่นยำประสิทธิภาพโดยรวมสูงกว่า EIDE

29)  ISP หรือ Internet Service Provider หมายถึง ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต โดยคิดค่าบริการจากเวลาในการใช้งานในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อัตราค่าบริการขึ้นกับบริษัทของแต่ละประเทศ

30) M-Commerce หมายถึง การทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านอุปกรณ์ไร้สาย หรืออุปกรณ์มือถือต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ เพจเจอร์ เครื่องโน้ตบุ๊ค ยกตัวอย่างเช่น เทคโนโลยี WAP(Wireless Application Protocol) และบูลทูธ (Bluetooth)

31)  EDI ย่อมาจาก Electronic Data Interchange หมายถึง กระบวนการที่ช่วยให้องค์กร ทางธุรกิจสามารถแลกเปลี่ยนเอกสารที่เป็นแบบฟอร์มต่างๆ เช่น ใบส่งของ ใบสั่งซื้อ หรืออื่นๆ ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้สะดวก รวดเร็ว แม่นยำ ลดเอกสารลงได้มาก รวมทั้งเชื่อมโยงกกับระบบการควบคลุมคลังสินค้าได้ดี

32)  Internet Banking หรือ Web Banking หมายถึง การทำธุรกรรมต่างๆ กับธนาคาร โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การฝากเงิน ถอนเงิน โอนเงิน หรือ สอบถามยอดเงิน เป็นต้น

33)  WAP ย่อมาจาก Wireless Application Protocol หมายถึง เทคโนโลยีซึ่งสามารถทำให้อุปกรณ์ไร้สายต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องปาล์ม (Palm) หรือแม้แต่เพจเจอร์ กลายเป็นอุปกรณ์สำหรับอินเตอร์เน็ตไร้สาย

34)  Dynamic Web Page เป็นเวบเพจ ( Web Page) หรือโฮมเพจ (Home Page) ที่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือรับเปลี่ยนแบบโต้ตอบ โดยขึ้นกับการตอบสนองของผู้ใช้ ที่ใช้ผ่านเวบ เบราเซอร์ (Web Browser) ของผู้ใช้ Dynamic Web Page ทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่าสามารถควบคุมการค้นหาแฟ้มข้อมูล ฐานข้อมูล และการประยุกต์ใช้งานอย่างอื่นๆ การสร้างอาจใช้รูปแบบ (FORM) ของเอชทีเอ็มแอล  (HTML) หรือใช้ซีจีไอ (CGI) หรือใช้ภาษาสคริปต์ (Script) ต่างๆ เช่น Java Script, Jscritp และ VB Script เป็นต้น

35)  Static Web Page หมายถึง เป็นเวบเพจ (Web Page) หรือโฮมเพจ (Home Page) ที่ถูกกำหนดตายตัว จะเปลี่ยนแปลงได้ในกรณีถูกแทนหรือแก้ไขเพิ่มเติมโดยผู้ควบคุมระบบเท่านั้น ผู้ใช้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโต้ตอบ หรือควบคุมการค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูลได้

36)  Web, World Wide Web, WWW หมายถึง ระบบบริการในการค้นหาข้อมูล ที่รวมทั้ง (Hypertext) กราฟิก และเสียงในระบบอินเตอร์เน็ตหน้าเวบเพจหนัาแรกของเวบไซต์ที่ปรากฏภายหลังสืบค้นได้แล้ว เรียกว่า โฮมเพจ (Home Page) ส่วนเวบเพจ (Web Page) หน้าอื่นๆอาจเรียกว่า   เวบ ดังนั้น การใช้คำว่า เวบเพจ จึงเป็นคำกลางๆในการเรียกเวบ

37)  Web Server หรือ Web Site หมายถึง เครื่องให้บริการข้อมูลข่าวสารในอินเตอร์เน็ต แก่เครื่องอื่นๆ

38)  URL หรือ Uniform Resource Locator หมายถึง ระบบอ้างตำแหน่งสำหรับ WWW โดย URL เกี่ยวกับวิธีเข้าถึงข้อมูลเซิร์ฟเวอร์ (Server) ที่ต้องการใช้ และไดเรกทอรี่ Directory และไฟล์ที่ต้องการจะใช้บนเซิร์ฟเวอร์

39) Browser หมายถึง โปรแกรมที่ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปใช้งานในเซิร์ฟเวอร์ ที่ให้บริการ เช่น ติดต่อเชื่อมโยงและค้นหาฐานข้อมูลของข่าวสารในระบบ www ของอินเตอร์เน็ต เช่น Netscape, Mosaic และ Internet Explorer เป็นต้น

40)  ADSL ย่อมาจาก Asymmetric Digital Subscriber Line หมายถึง เทคโนโลยีสำหรับส่งข้อมูลในอินเตอร์เน็ต โดยผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา ด้วยความเร็วสูงมาก

41)  Digital Signature หมายถึง ลายเซ็นใช้ยืนยันว่าเอกสารนั้นถูกต้อง ไม่มีการดัดแปลงแก้ไขโดยบุคคลภายนอก เป็นวิธีเพิ่มความปลอดภัยนอกเหนือจากการเข้ารหัส และตรวจสอบความถูกต้องให้กับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เอกสารลับ บัตรเครดิต และเงินแบบดิจิตอล สำหรับในประเทศไทย ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนเสนอให้มีกฎหมายรับรองการใช้ลายเซ็นดิจิตอล

42)  ISDN digital modem หรือเรียก ISDN terminal adapter หมายถึง โมเด็มดิจิตอลสำหรับ ISDN สามารถรับและส่งข้อมูลด้วยอัตราเร็วตั้งแต่ 64 Kbps – 128 Kbps
ISDN ย่อมาจาก Integrated Services Digital Network หมายถึง ระบบเครือข่ายแบบดิจิตอลซึ่งสามารถทำการส่งได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพ อุปกรณ์ ต่าง ๆ สามารถเชื่อมเข้ากับ ISDN โดยผ่านตัวเชื่อมแบบดิจิตอล ทำให้ไม่จำเป็นต้องผ่านการแปลงระหว่างสัญญาณอนาล็อก (Analog) กับดิจิตอล (Digital) ด้วยโมเด็ม

43) MIDI ย่อมาจาก Musical Instrument Digital Interface หมายถึง วิธีที่ทำให้อุปกรณ์ดนตรีแบบดิจิตอล สื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

44)  PDA ย่อมาจาก Personal Digital Assistant หมายถึง คอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กเท่าฝ่ามือ มีโปรแกรมพื้นฐาน เช่น Spread Sheet ต่างๆ ช่วยจดบันทึก และการนัดหมายต่างๆ

45)  Multimedia หมายถึง การใช้สื่อหลายอย่างในการนำเสนอข่าวสารซึ่งใช้ทั้งข้อมูล ภาพนิ่ง วิดีโอ และเสียง รู้จักกันทั่วไปในชื่อ “ มัลติมีเดีย” บางทีเรียก “ระบบหลายสื่อ”

46)  DNS  หรือ  Domain  Name  System  หมายถึง ระบบฐานข้อมูลของชื่อเครื่องและที่อยู่ในระบบอินเตอร์เน็ตโดยมีเซิร์ฟเวอร์  Server  ทำหน้าที่เปลี่ยนชื่อเป็นเลขทางการ   หรือเลขอ้างอิงของเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่า “Internet  Protocal  Address”

47)  Fiber  Optic  Network  หมายถึง ระบบเครือข่ายความเร็วสูงที่ใช้เส้นใยแก้วนำแสงและเทคโนโลยีของเลเซอร์ในการส่งข้อมูล

48)  ISDN (ไอเอสดีเอ็น)  ย่อมาจาก  Intergrated  Services  Digital  Network  หมายถึง ระบบเครือข่ายแบบดิจิตอล   ซึ่งสามารถทำการส่งได้ทั้งข้อมูล  เสียง  และภาพ   อุปกรณ์ต่างๆ  สามารถเชื่อมเข้ากับ  ISDN  โดยผ่านตัวเชื่อมแบบดิจิตอล (Digital)  ทำให้ไม่จำเป็นต้องผ่านการแปลงระหว่างสัญญาณอนาล็อก (Analog)  กับดิจิตอล ด้วยโมเด็ม

49)  NIC  หรือ  Network  Interface  Card  หมายถึง แผง   หรือบอร์ดวงจร  สำหรับติดตั้งในคอมพิวเตอร์   เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายได้

50)  VPN  ย่อมาจาก  Vitrual  Private  Network  หมายถึง การเชื่อมต่อโดยใช้ช่องทางสื่อสารพิเศษที่จำลองขึ้นมาชั่วขณะ  ที่เรียกว่า  “Tunnel”  หรือ  “อุโมงค์”  ในการรับ – ส่งข้อมูล   แต่ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นในเครือข่ายสาธารณะอย่างอินเทอร์เน็ต   ซึ่งเป็นโซลูชั่น (Solution)  หนึ่งในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล